บทที่ 2

ประวัติวิทยาลัย

อาคารและสิ่งก่อสร้าง

ทำเนียบผู้บริหาร

 


ประวัติวิทยาลัย

เนื่องจากว่าในปัจจุบัน ความต้องการทางด้านช่างฝีมือ และช่างระดับกึ่งฝีมือของตลาดแรงงานในประเทศไทยอยู่ในระดับที่สูงมาก ซึ่งถ้าหากมีแนวทางที่จะทำให้คนซึ่งไร้ฝีมือทั้งหลายที่พอจะมีอยู่มีโอกาสฝึกฝีมือหรือเพิ่มพูนทักษะบ้างในระยะเวลาอันสั้น ก็จะสามารถให้มีโอกาสประกอบชีพที่ใช้ความรู้และทักษะที่สูง
ขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง รายได้ค่าตอบแทนก็ย่อมจะดีขึ้นมาบ้าง สามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างสูง และจะยังผลให้เศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศดีขึ้นได้
ดังนั้น กรมอาชีวศึกษา จึงได้ดำเนินการเปิดสอนวิชาชีพ โดยใช้หลักสูตรระยะสั้นสาขาต่าง ๆ ขึ้น


วันที่ 15 พฤษภาคม 2513 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้ง " หน่วยฝึกฝนอาชีพเคลื่อนที่ 34 " ขึ้น ที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยให้สถานที่ของ โรงเรียนการช่างอุบลราชธานี เดิมซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 35 ถนนจงกลนิธารณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วยอาคารเรียนไม้ 2 ชั้น 4 ห้องเรียนจำนวน 1 หลัง อาคารเรียนไม้ชั้นเดียว 6 ห้องเรียน จำนวน 1 ห้อง และโรงฝึกงานจำนวน 5 หลัง ในเนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน 36.4 ตารางวา สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ขั้นแรก ได้ดำเนินการเปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น 30 ชั่วโมง รวม 3 คณะวิชา คือ
1. คณะวิชาช่างอุตสาหกรรม
2. คณะวิชาคหกรรม

3. คณะวิชาพาณิชยกรรม

วันที่ 14 กรกฎาคม 2513 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อจาก " หน่วยฝึกฝนเคลื่อนที่ 34 " มาเป็น " โรงเรียนฝึกฝนอาชีพเคลื่อนที่ 34 " สังกัดกองส่งเสริมอาชีพ กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2525 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่จาก " โรงเรียนฝึกฝนอาชีพเคลื่อนที่ 34 " มาเป็น
" โรงเรียนสารพัดช่างอุบลราชธานี " สังกัดกองโรงเรียน กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นสังกัดกองวิทยาลัยอาชีวศึกษา กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

วันที่ 7 มิถุนายน 2534 โรงเรียนสารพัดช่างอุบลราชธานี ได้รับการปรับปรุงเป็น " วิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานี " สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้เปลี่ยนเลขที่ตั้งวิทยาลัยฯ จากเดิมมาเป็น เลขที่ 35 ถนนจงกลนิธารณ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี 34000 ((045) 244754 : (045) 244755

อาคารและสิ่งก่อสร้าง

1. อาคารคอนกรีต 3 ชั้น ขนาดกว้าง 9.00 ม. ยาว 88.00 ม. จำนวน 1 หลัง ใช้เป็นห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ ของคณะวิชาคหกรรม คณะวิชาศิลป
หัตถกรรม คณะวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
2. อาคารไม้ 2 ชั้น ขนาดกว้าง 14.00 ม. ยาว 14.00 ม. จำนวน 1 หลัง ใช้เป็นห้องเรียนและห้องปฏิบัติการของคณะวิชาก่อสร้างและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
3. โรงฝึกงานแฝด ขนาดกว้าง 20.00 ม. จำนวน 3 หลัง ใช้เป็นห้องเรียนและห้องปฏิบัติการของคณะวิชาช่างกลโลหะ
4. โรงฝึกงาน ขนาดกว้าง 10.00 ม. ยาว 24.00 ม. จำนวน 2 หลัง ใช้เป็นห้องเรียนและห้องปฏิบัติการของคณะวิชาช่างกลโลหะ และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
5. อาคารอเนกประสงค์ ขนาดกว้าง 10.00 ม. ยาว 24.00 ม. จำนวน 1 หลัง ใช้เป็นโรงอาหารและหอประชุม
6. อาคารไม้ชั้นเดียว ขนาดกว้าง 9.00 ม. ยาว 16.00 ม. ใช้เป็นอาคารพัสดุกลาง
7. อาคารคอนกรีต 4 ชั้น ขนาดกว้าง 10.00 ม. ยาว 70.00 ม. จำนวน 1 หลัง ใช้เป็นห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ และอาคารอำนวยการ
8. โรงเก็บรถยนต์ จำนวน 1 หลัง
9. อาคารธรรมศาลา จำนวน 1 หลัง
10. เรือนเพาะชำ จำนวน 1 หลัง
11. บ้านพักผู้อำนวยการ จำนวน 1 หลัง
12. บ้านพักครูระดับ 3-6 จำนวน 1 หลัง
13. บ้านพักครูแบบ 5 ยูนิต จำนวน 1 หลัง
14. บ้านพักครูแบบ 4 ยูนิต จำนวน 1 หลัง
15. บ้านพักครูแบบ 2 ยูนิต จำนวน 1 หลัง
16. บ้านพักนักการภารโรง 3 ยูนิต จำนวน 1 หลัง
17. บ้านพักนักการภารโรง 2 ยูนิต จำนวน 1 หลัง
18. บ้านพักครูแบบแฟลต 4 ชั้น จำนวน 1 หลัง


ทำเนียบผู้บริหาร

ลำดับ ชื่อ - สกุล ตำแหน่ง ระยะเวลา
1 นายชวลิต มณีรัตน์ ครูใหญ่ 15 พ.ค. 13 - 31 ก.ค. 13
2 นายสืบพงษ์ รักษาทรัพย์ ครูใหญ่ 15 ส.ค. 13 - 15 ต.ค. 14
3 นายสนิท ตั้งใจ ครูใหญ่ 16 ต.ค. 14 - 15 เม.ย. 15
4 นายสมวงศ์ ศุภชลาทิพย์ อาจารย์ใหญ่ 15 เม.ย. 15 - 24 ส.ค. 20
5 นายสมาน สระศรี อาจารย์ใหญ่ 25 ส.ค. 20 - 29 พ.ย. 22
6 นายศุภร บุญเนาว์ อาจารย์ใหญ่ 30 พ.ย. 22 - 23 ส.ค. 23
7 นายนุกูล คำพรรณ์ ผู้อำนวยการ 24 ส.ค. 23 - 3 พ.ย. 26
8 ว่าที่ ร.ต.ชิตวีร์ บุนนาค ผู้อำนวยการ 9 พ.ย. 26 - 14 ธ.ค. 29
9 นายสมาน สระศรี ผู้อำนวยการ 15 ธ.ค. 29 - 9 ก.ค. 33
10 นายจำนงค์ ไชยยงยศ ผู้อำนวยการ 9 ก.ค. 33 - 31 ธ.ค. 40
11 นายสมใจ เชาว์พานิช ผู้อำนวยการ 31 ธ.ค. 40 - 30 พ.ย. 41
12 นายพิมาน พอกเพิ่มดี ผู้อำนวยการ 30 พ.ย. 41 - 31 ต.ค. 42
13 นายเฉลิมพงศ์ ภิงคะสาร ผู้อำนวยการ 1 พ.ย. 42 - 30 ก.ย. 44
14 นายอำนวย ชารีรัตน์ ผู้อำนวยการ 1 ต.ค. 44 - ปัจจุบัน ssss